สรุปหนังสือ Mindset

Mindset
Mindset Word

ถ้าจะพูดถึงเกี่ยวกับพลังความเชื่อของมนุษย์ ไม่ว่าจะรู้อยู่เเล้วหรือไม่ ความเชื่อทั้งหมดที่เราคิดจะส่งผลอย่างมากกับความต้องการของเรา สิ่งเหล่านี้คือตัวตัดสินว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่ Kayword สำคัญคือ”การเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราสามารถส่งผลกระทบได้ลึกซึงแค่ไหน เเม้ว่าความเชื่อนั้นจะเล็กน้อยก็ตาม

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ Carol S. Dweck เธอคือนักวิจัยชั้นนำในด้านบุคลิกภาพ จิตวิทยาสังคม เเละจิตวิทยาด้านพัฒนาการ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาลัยที่สเเตนฟอร์ด ในหนังสือเล่มนี้เราจะได้รู้ว่าความเชื่อธรรมดาๆ สามารถเปลี่ยนเเปลงชีวิตเราได้มากเเค่ไหน เเละในบทความนี้ผมจะสรุปเรื่องราว ความคิดให้กับทุกคนได้อ่านในฉบับที่อ่านง่ายเน้นเนื้อหาที่สำคัญๆ ของหนังสือกันครับ

กรอบความคิดสองเเบบ

มุมมองชีวิตของคนเราถ้าเราลองเอามาปรับใช้กับชีวิตประจำวันจะส่งผลต่อชีวิตกับเราอย่างไร? มันสามารถกำหนดความสำเร็จได้หรือเปล่า ทำไมความเชื่อที่เเสนธรรมดาจึงมีพลังในการเปลี่ยนเเปลงสภาพจิตใจของเรา เหตุผลก็เพราะคนเรามีความเชื่ออยู่ด้วยกันสองประเภทได้เเก่

1.กรอบความคิดเเบบตายตัว (Fixed Mindsed) คือความเชื่อในสิ่งต่างๆ รอบตัวเราไม่สามารถเปลี่ยนเเปลงได้ ต้องเเสดงตัวว่าฉลาดพอ มีบุคลิกที่ดี ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเรายังไม่ขาดสิ่งเหล่านี้ ตัวการสำคัญคือการเลี้ยงดูมาตั้งเเต่เด็กให้คนเหล่านี้ยึดติดกับความเชื่อเเบบนี้ครับ

2. กรอบคิดเเบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) กรอบคิดนี้หมายถึงความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถพัฒนาได้ด้วยความพยายาม ถึงเเม้อาจจะมีข้อจำกัดความเเตกต่าง ทั้งในเรื่องพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ นิสัย สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนเเปลงได้ต้องใช้ความพยามยามเเละประสบการณ์

ภายในกรอบความคิด

ความสามารถไม่ได้มีเพียงเเค่ความหมายเดียวที่จริงเเล้วถูกเเบ่งเป็นสองความหมายนั้นคือ ความสามารถแบบตายตัวซึ่งต้องอาศัยการพิสูจน์ความเปลี่ยนแปลงผ่านการเรียนรู้ เเละนี้คือต้นกำเนิดของกรอบความคิดสองเเบบที่ได้กล่าวไปข้างต้นครับ

อะไรคือสิ่งฉุดรั้งให้บางคนไม่ยอมเรียนรู้ กรณีของเด็กทารกที่ต้องพัฒนาตนเองในทุกวันไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ลองนึกถึงเจ้าตัวน้อยของเราดูก็ได้ครับ ตั้งแต่สิ่งที่พวกเขาเริ่มทำสิ่งที่ยากสุดคือ การหัดเดิน พูด เเต่พวกเขาไม่เคยคิดว่ามันยากเกินไปพวกเขาไม่มีความกังวนว่าทำเเล้วจะผิดพลาดเมื่อล้มเเล้วลุกเเล้วก้าวเดินต่อข้างหน้า ในทางกลับกันสำหรับคนที่ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพราะมีเหตุเดียวนั้นคือ กรอบความคิดเเบบตายตัวนั้นเองครับ

พัฒนากรอบความคิด

  • นึกภาพว่าสมองกำลังสร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆ เวลาที่เราเรียนรู้เเล้วทำเรื่องท้าทาย
  • ใช้ชีวิตด้วยการค้นหาคำติชมเชิงสร้างสรรค์
  • มองความล้มเหลวในอดีตเเล้วเปลี่ยนใหม่ มองในมุมมองกรอบความคิดเเบบพัฒนาได้
  • เวลาท้อเเท้หมดกำลังใจ ให้ลองใช้กรอบคิดเเบบพัฒนาได้ ลองนึกการเรียนรู้ ความท้าทาย เเละเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ

กรอบความคิดของผู้ชนะ

พรสวรรค์เป็นสิ่งที่คนส่วนมากคิดว่าคนที่มีลักษณะเช่นนี้เก่งมาตั้งเเต่เกิด เมื่อคนเหล่านี้ได้รับคำชม ตัวอย่างเช่น คุณช่างเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาตั้งเเต่เกิดพวกเขาเเทบไม่ต้องใช้ความพยายามหรือต้องฝึกฝนให้เก่งขึ้น จุดอ่อนคือพวกเขาจะมีกรอบความคิดเเบบตายตัว

ส่วนกลุ่มคนที่กรอบคิดแบบพัฒนาได้เชื่อว่าเขาสารมารถเปลี่ยนและพัฒนาด้านการบริหารได้อย่างมหาศาลมีโอกาศทำได้ตลอดเวลา ความแตกต่างทั้งสองกลุ่มจึงแตกต่างกันโดยสินเชิง กลุ่มแรกเชื่อว่ามีฝีมือกับไม่มีฝีมือ & อีกกลุ่มเชื่อว่าทักษะของเราพัฒนาได้ด้วยการใช้ประสบการณ์

ที่นี้คุณผู้อ่านก็น่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นระหว่างวิธีคิดของกลุ่มบุคคลทั้งสองประเภทนั้นแตกต่างกันคนละรูปแบบกันแล้วใช่ไหมครับ ? ที่นี้เราลองมาดูซิว่าทั้งๆ ที่ทั้งสองกลุ่มมีความสามารถพอๆ กันแต่เมื่อเวลาผ่านไปความสำเร็จและผลงานของทั้งสองกลุ่มจึงแตกต่างกัน แตกต่างในที่นี้คือกลุ่มมีกรอบความคิดพัฒนาได้ประสบความสำเร็จกว่ากลุ่มที่มีกรอบความคิดแบบตาย ซึ่งมีตัวอย่างเห็นได้ชัดและพบเห็นได้ทั่วไปรอบตัวเรา

เคล็ดลับมีอยู่ว่าคนที่มีกรอบความคิดแบบพัฒนาได้เรียนรู้ที่จะใช้ประโยนช์ของข้อผิดพลาดแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา กล้าแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างเปิดเผยเวลาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจในการการบริหารงาน มองว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

Growth mindset

คิดแบบพวกมากลากไป VS คิดแบบตัวเอง

เคยมีความคิดที่เหมือนๆ กันไหมครับเวลาที่คนอื่นหรือผู้นำคิดแบบนี้เราอาจจะต้องมีความคิดที่อาจเหมือนหรือเหมือนกับเขาไปเสียทุกอย่าง ไม่มีใครไม่เห็นด้วยและไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ นี้อาจเป็นหายนะไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ครับ ในปี 1970 เออร์วิง เเจนิส นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่มหาวิทยาลัยเยล เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับ (groupthink) ได้ให้นิยามการคิดลักษณะนี้มักมาจากกรอบความคิดแบบบตายตัว

การคิดแบบพวกลากมากไปจะเชื่อมั่นในผู้นำที่มีพรสรรค์หรืออัจฉริยะมากไป ไม่ได้มีการไตร่ตรองให้รอบด้านเสียก่อนพวกเขาคิดว่าคนเก่งย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

และในทางกลับกันกับคนที่คิดแบบตัวเอง จะเห็นพร้องต้องกันในบางเรื่องตัวอย่างในการการประชุมไม่ไม่ได้จบแค่ครั้งนั้นเสียทีเดียว อาจมีการเลื่อนการประชุมเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ไปเป็นครั้งต่อไป เพื่อจะได้มีเวลาคิดและข้อโต้แย้งต่างๆ และทำความเข้าใจการตัดสินใจให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น

เเละยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คนที่มีกรอบความคิดแบบตายตัวเกิดความคิดแบบพวกลากมากไป เพราะเชื่อมั่นในผู้นำมากเสียจนเกิดความคิดที่ว่าคนเก่ง คนมีพรสรรค์ จะไม่มีวันทำอะไรผิดพลาด และยังให้ความสำคัญกับผู้นำที่กดขี่ที่เห็นต่างเพื่อเสริมบารมีของตัวเอง และผู้ตามจะแสวงหาการยอมรับจากผู้นำและทำตามแต่โดยดี

สิ่งสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเราต้องจำเป็นมี “กรอบความคิดแบบพัฒนา” ได้เวลาตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ เพราะกรอบความคิดแบบพัฒนาได้สามารถทำให้คนเรามองเห็นภาพล่วงตาซึ่งมันจะนำไปสู่การพูดคุยอย่างเปิดกว้างและการตัดสินใจที่ดีขึ้นต่อไป

กรอบความคิดของผู้ชนะ

พรสวรรค์เป็นสิ่งที่คนส่วนมากคิดว่าคนที่มีลักษณะเช่นนี้เก่งมาตั้งเเต่เกิด เมื่อคนเหล่านี้ได้รับคำชม ตัวอย่างเช่น คุณช่างเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาตั้งเเต่เกิดพวกเขาเเทบไม่ต้องใช้ความพยายามหรือต้องฝึกฝนให้เก่งขึ้น จุดอ่อนคือพวกเขาจะมีกรอบความคิดเเบบตายตัว

ส่วนกลุ่มคนที่กรอบคิดแบบพัฒนาได้เชื่อว่าเขาสารมารถเปลี่ยนและพัฒนาด้านการบริหารได้อย่างมหาศาลมีโอกาศทำได้ตลอดเวลา ความแตกต่างทั้งสองกลุ่มจึงแตกต่างกันโดยสินเชิง กลุ่มแรกเชื่อว่ามีฝีมือกับไม่มีฝีมือ & อีกกลุ่มเชื่อว่าทักษะของเราพัฒนาได้ด้วยการใช้ประสบการณ์ย สิ่งนี้เรียกรวมๆ ว่าถ้าเกิดหนูทำคุณทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา หัวใจลูกคุณอาจสลายได้

ถ้าเราไม่ควรกล่าวชมพรสวรรค์หรือสติปัญญาแล้วเรากล่าวชมเรื่องอะไร คำตอบคือให้ลูกของคุณย้อนนึกถึงความพยายามที่พวกเขาทุ่มเทให้กับการได้มาของคะแนนสอบที่สูง และพัฒนาการในตอนนี้เทียบกับครั้งก่อนหน้าสิ่งนี้จะนำพาลูกของคุณไปยังทิศทางที่ถูกที่ควรครับ

สิ่งชื่นชอบไม่ใช่สิ่งที่ผิดไปซะทั้งหมดแต่เราควรหลี่กเลี่ยงคำชมบางประเภทหรือไม่ก็ไม่พูดมันออกมาเลย เช่นคำชมที่ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องพรสวรรค์ สติปัญญา หรือประเภทคำชมที่ทำให้เขารู้สึกภาคภูมิใจเพราะเขาอาจลดความพยามลงเมื่อได้รับสารที่สื่อถึงสิ่งที่อาจตีความถึงการภูมิใจ แทนที่จะเป็นการพยายาม

ชื่นชมได้มากตามที่ต้องการตราบใดที่มันเป็นคำชมที่เน้นเรื่องการกระบวนการที่เน้นการพัฒนา หมายถึงสิ่งที่พวกเขาทำสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้และฝึกฝน ความมุ่งมั่น และมีกลยุทธที่ดี

คำชื่นชมที่ได้ผลและถูกต้อง

  • ครั้งนี้ลูกอ่านหนังสือหนักจริงๆ
  • ลูกอ่านทวนหลายรอบจริงๆ
  • แม่ชอบกลยุทธที่ลูกใช้แก้ปัญหาโจทย์เลขข้อนั้น
  • ลูกใช้วิธีมากมายเพื่อแก้โจทย์ และเจอวิธีที่ใช้ได้จริง
  • พ่อชอบที่ลูกเลือกโครงงานนี้เพราะมันท้าทาย มันทำให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งดีเยอะมากเลย
  • พ่อนับถือลูกจริงๆ ที่ลูกมีสมาธิทำจนมันสำเร็จ

สรุปคือ “คำชมไม่ควรพุ่งเป้าไปที่คุณสมบัติของพวกเขา แต่ควรเน้นไปที่ความพยายามและความสำเร็จต่างหากครับ”

เปลี่ยนกรอบความคิด

การเปลี่ยนไม่เหมือนกับการผ่าตัด แม้ว่าเราจะคิดว่าเปลี่ยนนิสัยที่เราต้องการเปลี่ยนเพื่อเราจะดีขึ้นในวันข้างหน้า แต่หารู้ไม่ครับว่า ความเชื่อเดิมที่ยังฝังรากหยั่งลึก ไม่ได้ถูกจำจัดออกไป เปรียญได้เหมือนการที่เราเอาอวัยะใหม่ที่ดีกว่ามาเปลี่ยนของเก่าที่เสื่อมสภาพไปแล้ว ในทางกลับกัน ความเชื่อใหม่ๆ มันจะเคียงข้างเป็นเพื่อนความเชื่อเดิมๆ และเมื่อความเชื่อใหม่ แข็งเเกรงขึ้น มันจะทำให้เราเปลี่ยนไป ทั้งในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก จนกระทั่งการกระทำที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกันครับ

ผมมันไม่มีความสามารถ,วิธีนี้มันไม่ได้ผลหรอก,ฉันไม่มีวันรู้สึกดีขึ้น ความเชื่อเหล่านี้ไม่เพียงก่อให้เกิดผลของความคิดเชิงลบกับชีวิตของเราแล้ว มันส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตของคนที่คิดลักษณะเช่นนี้ด้วย สิ่งสำคัญคนเรามักมองข้ามกับการรู้สึกและคำพูดเหล่านี้ที่สื่อออกไปด้วยซ้ำ

ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ แต่ลึกๆ แล้วเรานึกถึงเรื่องเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา พูดให้เข้าใจง่าย คือสมองของเราจับตาเฝ้ามองตีความสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเหตุผลเพราะว่ามันทำให้เรายังอยู่กับร่องกับรอยขณะนั้นไงละครับ แต่ทว่าบางครั้งสมองเราอาจเกิดผิดพลาด ตีความสิ่งที่เกิดขึ้นในทางที่ Extreme เกินไป ส่งผลให้เราตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นด้วยความกังวน หดหู่ หรือโกรธมากเกินไป สุดท้ายเราจะคิดว่าเราเหนือกว่าคนอื่น

เริ่มออกเดินทาง

ส่วนนี้จะเป็นเนื้อหาเหตุการณ์สมมุติขึ้นมา จุดประสงค์เพื่อให้เราต่อสู้กับอุปสรรค์ต่างๆ ในแต่ละเหตุการณ์เราจะได้เข้าถึงการมีกรอบความคิดแบบตายตัวก่อน แล้วจากนั้นเราจะเปลี่ยนเป็นกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ พร้อมแล้วออกเดินทางไปกันเลยครับ

เหตุการณ์แรก ลองจินตนาการณ์ว่าเราเข้าสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังที่เราอยากจะเรียนต่อที่นี้มากๆ แล้วเราก็ส่งใบสมัครไปที่นั้นเพียงแค่ที่เดียวเพราะตั้งใจที่เข้าเรียนต่อที่นี้จริงๆ เรามั่นใจมากว่าทางมหาวิทยาลัยต้องรับเราเข้าเรียนอย่างแน่นอน เพราะผู้คนรอบตัวเรามองว่าเรามีความสามารถในสาขาวิชานี้มาก แต่! เราถูกกลับถูกปฏิเสธ

ความคิดแบบตายตัวเริ่มบังเกิดขึ้น ในช่างแรกที่เรารู้ว่าถูกปฏิเสธเราบอกกับตัวเองว่าการแข่งขันนี้มันค่อนข้างมาก มันเลยส่งผลให้เราไม่ได้เข้าเรียนที่นั้น แต่แล้วเสียงในหัวเราก็เริ่มกระซิบบอกเราว่า “นี้เธอกำลังหรอกตัวเองอยู่นะอย่าหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่เลย พวกเขาเห็นว่าเธอยังไม่เก่งพอนะ” กลับมาที่ตัวเราจริงๆ ตอนนี้เราเริ่มคิดจริงๆ แล้วว่ามันอาจเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วตัวเราก็อาจเป็นคนไร้ค่า แต่ถึงอย่างไรเราก็พยายามกลับไปเชื่อในความคิดแรกที่เชื่อว่ามันเป็นความคิดที่สมเหตุสมผลที่สุด มันส่งผลทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมา

แต่ในความคิดแบบพัฒนาได้นี้เป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ทั้งหมดที่เราทำมันเเค่เป็นเพียงวิธีที่เราพูดคุยกับตัวเองเท่านั้นครับ

ก้าวต่อไปด้วยความคิดแบบพัฒนาได้ ลองนึกถึงเป็นหมายที่นำเราไปสู่ความสำเร็จดูซิครับ ว่าเราสามารถมีวิธีการใด ,เราทำอะไรได้บ้าง, สามารถรวบรวมอะไร เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

บางที่เราอาจมีความคิดที่จะลองส่งใบสมัครเรียนกับทางสถาบันอื่น หรือรอในปีถัดไปเพื่อยืนใบสมัครใหม่กับสถาบันเดิม เราต้องเตรียมวางแผนเพื่อปีต่อไปหาข้อมูลว่าเราผิดพลาดจุดไหนเพื่อนำกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

และนี้ก็เป็นวิธีคิดของคนที่ไม่ยอมให้กรอบความคิดแบบตายตัวเข้ามาครอบงำจิตใจจนทำให้หลงลืมความคิดแบบพัฒนาได้ที่เป็นเครื่องมือทางความคิดที่ทำให้เราพัฒนาเติบโตต่อไปได้ในอนาคต บทสรุปของเรื่องนี้สุดท้ายทางมหาวิทยาลัยก็รับเธอเข้าเรียนต่อในที่สุดครับ

เรียนรู้ที่จะเรียนรู้

ก็มาถึงเนื้อหาสุดท้ายของหนังสือแล้วนะครับ สุดท้ายนี้ผู้เขียนให้วิธีการแล้วโอกาสที่จะพัฒนาและช่วยให้เราไม่ลืมที่จะมองหาโอกาสเหล่านี้ อันดับแรก ดูแผนภาพกรอบความคิดทั้งสองแบบ นำไปถ่ายเอกสารติดกับกระจก

Fixed mindset and Growth mindset
  1. มองภาพนี้ทุกเช้า
  2. พร้อมทั้งเตือนตัวเองกับความแตกต่างของกรอบความคิดทั้งสองแบบ
  3. คิดไคร่ครวญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เราเผชิญในแต่ละวัน
  4. ตั้งคำถามต่อไปนี้กับตัวเอง
  5. เขียนคำถามเหล่านั้นแล้วนำไปติดที่กระจก

ช่วยกันเเชร์บทความนี้ด้วยนะครับ
Avatar photo
Jakkit Blog

เป็นคนที่ชอบการพัฒนาตนเอง